..... เหนื่อย ก็ เหนื่อย เมื่อย ก็เมื่อย ...... แต่ก็คุ้มค่าที่ได้ไปชม นับว่าเป็นบุญสักครั้ง.......ในชีวิต.....................
PRINCESS GALYANI SISTER OF THE KING PASSES AWAY
Princess Galyani "passed away at 2:54 am on January 2, 2008," the household said in a statement. The king‘s elder sister had been undergoing treatment for abdominal cancer at Bangkok‘s Siriraj Hospital since June last year. The king, who was close to his sister and visited her in hospital almost daily, declared a 100-day mourning period among royal family members and royal court officials.
The princess had been received treatment for cancer at the hospital for months. Well-wishers had flocked to the hospital since the news spread that she was admitted.
The princess is the elder sister of two kings of the Chakri Dynasty (Bangkok Dynasty) -- King Rama Ananda (King Rama the 8th) and the present King Bhumibol Adulyadej (King Rama the 9th). She had stomach pain in June last year and X-ray test showed that she had cancer. Early Royal statements said she had problems with the right side of her body, and scans found that some parts of her brain were dysfunctional, caused by blood clots.
Nearly 1,000 Thais rushed to the hospital on hearing the news, police said. Many of them were wearing black and clutching pictures of the princess, while television footage showed a sobbing elderly woman knelt in front of her portrait.
She began her academic career as a professor of French at Bangkok's Chulalongkorn University, the kingdom's most prestigious academic institution.
After a 10-year break from teaching, she took over as head of the French department at Thammasat University in 1969 and later headed the Association of French Professors in Thailand, working to promote the French language.
Later in life, the princess devoted her energies to rural development and education, particularly in Thailand's impoverished northeast.
the 5th.) and his commoner wife, Sangwal.
Princess Galyani married Col. Aram Ratanakul Serireungriddhi, a royal aide but a commoner, in 1944, which meant she had to give up the royal title she was awarded in 1935. The couple had a daughter but were divorced in 1949. The royal title was restored by King Bhumibol in 1950, after the divorce.
She married again in 1969 to Prince Varananda Dhavaj, a professional pilot, who died in 1990.
The royal funeral will take place at the Dusit Mahaprasart ThroShe also chaired several charities, including the Kidney Foundation, and helped secure funding for the construction of rural schools.
The princess was noted for her interest in the arts, especially theater and classical music, a taste cultivated when she, like the king, was educated in Switzerland, where she spent much time until later life.
She spoke five languages, and loved to travel, documenting many of her journeys in books. She was the oldest child of Prince Mahidol, a son of King Chulalongkorn (King rama ne inside the Grand Palace. The mourning period will last until the 100th day of her departure, according to the Bureau
mayNews Type : Thailand news
1.สางพระเกศาขึ้น-ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางทิ้ง
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สางพระเกศาพระศพขึ้น 1 ครั้ง ลง 1 ครั้ง แล้วหักพระสางวางไว้ในพาน แสดงถึงว่าเป็นการสาง (หวี) พระเกศาครั้งสุดท้าย สางพอเป็นสัญลักษณ์พอเป็นพิธี เพื่อแสดงว่าไม่ต้องการความสวยงามใดๆ อีกแล้ว เป็นเครื่องหมายว่าหมดประโยชน์ ไม่มีความจำเป็นต้องแต่งกายใดๆ อีกแล้ว และเมื่อหักสางทิ้งไปแล้ว ก็จะเอาไปไว้ที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนกับประเพณีของประชาชนด้วย ที่แสดงว่าจะไม่ได้ใช้สางนั้นอีกต่อไปแล้วจึงต้องหักทิ้งไป
เศวตฉัตรประกอบพิธีพระศพนั้นจะแตกต่างกันไป ตามพระอิสริยยศที่แตกต่างกัน
ฉัตร 9 ชั้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ฉัตร 7 ชั้น : สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี
ฉัตร 5 ชั้น : สมเด็จเจ้าฟ้า ในส่วนพิธีพระศพของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ นั้นจะเรียกว่า "เบญจปฎลเศวตฉัตร" หมายถึงฉัตรขาวที่มีเพดาน 5 ชั้น .
ขั้นตอนเมื่อเชิญพระศพมายังพระบรมมหาราชวังแล้ว จะเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งอยู่ด้านหลังทางทิศใต้ของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้จะเป็นวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระอัครมเหสี และเจ้านายฝ่ายในชั้นสูง แต่ในระยะหลังจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพ ในการสรงน้ำพระศพ เมื่อสรงน้ำพระศพที่พระที่นั่งพิมานรัตยาแล้วจึงจะอัญเชิญพระศพไปประดิษฐานที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท การประดิษฐานพระศพตามราชประเพณีอยู่ทางมุขด้านตะวันตก พระโกศสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้าจะใช้พระโกศทองใหญ่ และใช้เครื่องสูงทองแผ่ลวด มุขด้านใต้จะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร (พระประจำวันเกิด) ซึ่งพระพุทธประจำพระชนมวารของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร ซึ่งเป็นปางประจำวันเกิดวันอาทิตย์ งานหลังจากนี้ต่อไปจนถึง 100 วัน จะเป็นการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม พระพิธีธรรมจะเป็นงานที่ใช้เฉพาะงานหลวง จะสวดทั้งวันทั้งคืน มีการย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย
3.ประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง
การสวดพระพิธีธรรมพระอภิธรรม จะมีการประโคมย่ำยามทุก 3 ชั่วโมง มีปี่ กลอง ประโคม ด้วยทำนองที่เศร้าสร้อย ตั้งแต่ 06.00 น. 09.00 น. 12.00 น. ไปจนถึง 24.00 น. เพื่อบอกเวลาว่าครบ 3 ชั่วโมง ก็จะประโคมขึ้นหนึ่งครั้ง ส่วนการสวดพระอภิธรรมจะสวดทั้งวันทั้งคืน แต่จะมีเวลาพักเว้นระยะเป็นช่วงๆ อาจจะหยุดพักสัก 10-15 นาที ซึ่งจะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายชั้นสูงขึ้นไป โดยหลักคิดก็จะไม่แตกต่างกับการจัดงานศพของประชาชนทั่วไปตามหลักพระพุทธศาสนา แต่อาจจะเพิ่มรายละเอียด ปริมาณและคุณภาพเข้ามา ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าภาพที่จะจัดงานนอกจากนี้จะมีการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน และ 100 วัน พิธีกรรมก็จะเหมือนกัน นั่นคือ มีการสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สดับปกรณ์ (บังสุกุล)
4.สมเด็จพระพี่นางเธอฯ อยู่ในลำดับพระอิสริยยศชั้น "เจ้าฟ้า"
ภาษาที่ใช้เรียกในการประกอบพิธีพระบรมศพ พระศพ จะแตกต่างกันตามพระอิสริยยศ โดยสมเด็จเจ้าฟ้า จะเรียกว่า พระศพ ส่วนพระยศที่สูงกว่า ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระบรมราชกุมารี จะเรียกว่า"พระบรมศพ"ส่วนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ ตามราชประเพณีจะสร้างพระเมรุในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนมีนาคม เมษายน ทั้งนี้แล้วแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
5.การแต่งฉลองพระองค์ไว้ทุกข์
การแต่งกายของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ สำหรับการไว้ทุกข์มี 2 แบบ ฉลองพระองค์เต็มยศ และฉลองพระองค์แบบสากล แบบแรกฉลองพระองค์ไว้ทุกข์ด้วยเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายจักรี ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย และจะฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศสายสะพายจักรี ในการบำเพ็ญพระราชกุศลเมื่อครบ 7 วัน 50 วัน 100 วัน และวันออกพระเมรุ ส่วนแบบสากลฉลองพระองค์สูทสีดำ ติดแขนทุกข์ใต้พระกรซ้าย สำหรับข้าราชการ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็แต่งกายไว้ทุกข์ตามราชประเพณีตามแต่จะมีหมายกำหนดการกำหนดแจ้งไว้ ส่วนประชาชนก็แต่งกายไว้ทุกข์แบบสุภาพตามประเพณีที่ปฏิบัติ
ขบวนรถจะจัดอย่างไรก็ได้ไม่มีระเบียบแบบแผน และจะเป็นแบบเรียบง่ายที่ปฏิบัติกันมาในอดีตก็จะอัญเชิญโดยรถโรงพยาบาลเหมือนกันทุกพระองค์
การปฏิบัติตนของประชาชนในการเข้าไปถวายสักการะพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมเป็นต้นไปนั้น เบื้องต้นประชาชนควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีใส่เสื้อผ้าสีดำหรือสีขาว การกราบพระศพจะกราบครั้งเดียวไม่แบมือ สุภาพสตรีควรนุ่งกระโปรง เพราะตามธรรมเนียมที่จะไม่นุ่งกางเกงเข้าในพระบรมมหาราชวัง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นแบบเรียบร้อย ส่วนประชาชนทั่วไปที่จะแสดงออกเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สามารถทำได้ทุกอย่าง ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรอให้ถึงวันที่ 10 มกราคม สามารถทำได้ทันที ทั้งการตักบาตร ทำบุญ บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญทาน ถวายสังฆทานต่างๆ บวชพระ เลี้ยงพระ นิมนต์พระมาเทศน์ ก็ทำได้
8.บรรจุพระศพลงหีบพระศพแทนพระโกศ
(ชัชพล ชัยพร) ตามโบราณราชประเพณีเมื่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จสวรรคต จะประกอบพิธีบรรจุพระบรมศพ พระศพ ลงในพระโกศ แต่ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เชิญพระบรมศพ และพระศพ ลงหีบพระศพ แทนใส่การใส่พระโกศ ซึ่งสามารถทำได้ตามพระราชอัธยาศัย ได้แก่ พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
ขอขอบคุณข้อมูล
- นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
- นายชัชพล ชัยพร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เว็บไซต์มติชนออนไลน์